กระแสละครกำลังฮอต ใครๆ ก็พูดถึงเลือดข้นกันทั่วบ้านทั่วเมือง มิสเบลล่าก็อยากนำความรู้มาฝากสาวๆ เกี่ยวกับอาการเลือดข้น และเลือดจาง ที่อาจจะไม่เกี่ยวกับละคร แต่เกี่ยวกับสุขภาพของเราโดยตรง
หลายๆ คนอาจจะรู้จักกับภาวะโลหิตจางกันมาบ้างแล้ว แต่ เลือดข้น ยังคงเป็นเรื่องที่ใหม่ และไม่ค่อยคุ้นกันมากนัก ลองมาทำความรู้จัก ค้นหาความแตกต่างของเลือดข้น และ เลือดจางกันเลยค่ะ
เลือดข้น (Polycythemia)
คือภาวะที่ไขกระดูกผลิตเซลล์เม็ดเลือดในจำนวนที่มากผิดปกติ หรือมีโปรตีนในเลือดปริมาณมาก ทำให้เลือดข้นขึ้น ส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ในร่างกาย และทำให้เกิดอาการหน้าแดง มือและเท้าแดง พ่วงด้วยอาการความดันโลหิตสูง เลือดกำเดาไหล
สาเหตุ : ไม่พบได้แน่ชัด อาจจะไม่มีการแสดงอาการใดๆ ออกมาเลยก็ได้
อาการของเลือดข้นจะมีอาการวิงเวียน ปวดศีรษะ ตาพร่า หน้าแดง อ่อนเพลีย โดยส่งผลต่อระบบไหลเวียนโลหิต ทำให้เกิดลิ่มเลือด ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิต และมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ติดเชื้อในกระแสเลือด หรือสมองตาย กระทบต่อการเคลื่อนไหวได้
การรักษาเบื้องต้นจะเน้นที่การลดเม็ดเลือด สลายลิ่มเลือด ผ่านวิธีการถ่ายเลือด หรือใช้ยาเพื่อชะลอการทำงานของไขกระดูกในการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง
ป้องกันได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น ออกกำลังกายเพื่อรักษาสุขภาพ เลือกรับประทานอาหารที่ดีและมีประโยชน์เพื่อป้องกันน้ำหนักตัวเกินและโรคอ้วน หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์
เลือดจาง (Anemia)
เป็นภาวะที่ร่างกายมีปริมาณเม็ดเลือดแดงในเลือดน้อยกว่าปกติ ทำให้นำออกซิเจนไปยังเซลล์และเนื้อเยื่อในอวัยวะต่าง ๆ ได้น้อยลง อาจมาจากการเสียเลือด การสร้างเม็ดเลือดแดงที่ลดลง หรือเม็ดเลือดแดงถูกทำลายมากขึ้น
สาเหตุ : ร่างกายมีปริมาณเม็ดเลือดแดงน้อยลง ทำให้อวัยวะต่าง ๆ ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอจนเกิดความผิดปกติในการทำงานตามมา โดยมีสาเหตุจากหลายประการ การเสียเลือด การสร้างเม็ดเลือดแดงน้อยลง การขาดสารอาหาร โรคเกี่ยวกับไขกระดูก หรือฮอร์โมน
อาการของเลือดจาง จะรู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย แม้จะเป็นการทำกิจกรรมปกติในชีวิตประจำวัน ผิวซีด เล็บเปราะ มือเท้าเย็น และหากเกิดบาดแผล จะใช้เวลาห้ามเลือดนานกว่าปกติ การลำเลียงออกซิเจนไปยังอวัยวะต่าง ๆ ทำได้ไม่ดี ติดเชื้อได้ง่าย และเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยในขั้นรุนแรงอาจทำให้หัวใจทำงานหนักจนหัวใจล้มเหลว
การรักษา แปรผันตามสาเหตุของอาการโดยส่วนใหญ่จะเป็นการเพิ่มความสามารถในการลำเลียงออกซิเจนในร่างกายได้มากขึ้น
ป้องกันได้ ด้วยการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก เช่น ตับหมู ข้าวโอ๊ต ถั่วแดง และทานอาหารที่ลดการดูดซึมธาตุเหล็ก เช่น ชา กาแฟ หรือพืชผักที่มีกากใยหรือมีไฟเตทสูง
หรือใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อเพิ่มสารอาหารให้กับร่างกาย อาทิ
วิตามินซี ช่วยให้การดูดซึมธาตุเหล็กดีขึ้น ซึ่งเป็นการช่วยสร้างเม็ดเลือดแดงทางอ้อมวิตามินบี เพื่อเพิ่มสารอาหารที่ร่างกายได้รับไม่เพียงพอ
วิตามิน B-12 ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันโรคโลหิตจาง