คนที่ใส่ใจสุขภาพ มักจะหรืออ่านฉลากโภชนาการก่อนเลือกซื้อสินค้าเป็นประจำ แต่สำหรับคนที่ยังไม่ได้สนใจสิ่งเหล่านี้ ข้อความเล็กๆ ข้างบรรจุภัณฑ์นั้นก็จะถูกมองข้ามไป
ฉลากโภชนาการ มีไว้เพื่อระบุชนิดและปริมาณสารอาหารของอาหารที่เราจะได้จากผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากในด้านสุขภาพ บางครั้งข้อความโฆษณาอาจจะนำเสนอว่ามีไขมัน 0% แต่สารอาหารชนิดอื่นๆ เช่นน้ำตาลอาจจะสูงมาก ทำให้เพิ่มอันตรายต่อผู้บริโภคที่อาจะมีความความเสี่ยงหากได้รับน้ำตาลเกิดกำหนด
หากเราสละเวลาอ่านฉลากโภชนาการสักนิด คำนวณปริมาณที่ร่างกายของเราต้องการได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ ก็จะส่งผลดีต่อสุขภาพของเราค่ะ
แต่ก่อนจะเริ่มอ่านข้อมูลโภชนาการ เรามารู้จักรูปแบบของข้อมูลโภชนาการกันก่อนว่ามีแบบไหนบ้าง
- ฉลากโภชนาการแบบเต็ม จะแสดงปริมาณสารอาหารที่ผู้บริโภคควรทราบ 15 รายการ สามารถจัดวางได้ทั้งรูปแบบแนวตั้งและแนวขวางตามขนาดของบรรจุภัณฑ์
- ฉลากโภชนาการแบบย่อ ใช้ในกรณีที่สารอาหารตั้งแต่ 8 รายการจาก 15 รายการข้างต้นมีปริมาณน้อยหรือเท่ากับ 0 จึงไม่จำเป็นต้องแสดงในรูปแบบเต็ม แต่ต้องแสดง 6 รายการที่บังคับ ได้แก่ พลังงานทั้งหมด, ไขมันทั้งหมด, โปรตีน, คาร์โบไฮเดรต, น้ำตาล, โซเดียม
ฉลากโภชนาการแบบย่อ
- ฉลากโภชนาการแบบ Guideline Daily Amounts (GDA) หรือเรียกอีกอย่างว่า ฉลากหวานมันเค็ม ฉลากที่ใช้สัญลักษณ์ทรงกระบอกติดกัน 4 รูป แสดงข้อมูลพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียม บังคับใช้กับอาหาร กลุ่มได้แก่ อาหารขบเคี้ยว, ช็อกโกแลต, ผลิตภัณฑ์ขนมอบ, อาหารกึ่งสำเร็จรูป, อาหารมื้อหลักที่เป็นอาหารจานเดียวที่อยู่ในตู้แช่แข็ง
ฉลากโภชนาการแบบ Guideline Daily Amounts (GDA)
วิธีการอ่านฉลากโภชนาการ
- หน่วยบริโภค ควรอ่านเป็นลำดับแรก เนื่องจากส่วนนี้หมายถึง ปริมาณที่ผู้ผลิตแนะนำให้ผู้บริโภคกินในแต่ละครั้ง เพื่อที่จะได้รับสารอาหารในปริมาณที่ระบุไว้ในส่วนต่อไป โดยจะพ่วงมาด้วย “จำนวนหน่วยบริโภคต่อภาชนะบรรจุ” อย่างขวด กระป๋อง ห่อ ที่อาจจะมีการแบ่งรับประทานได้หลายครั้ง ซึ่งหากตรงนี้ระบุตัวเลข 3 แสดงว่าแบ่งได้ 3 ครั้ง และหากรับประทานหมดในครั้งเดียวคุณค่าทางโภชณาการที่จะได้รับก็จะเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าตัว
- คุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบริโภค คือข้อมูลสารอาหารที่เราจะได้รับและปริมาณที่นี้คิดเป็นร้อยละเท่าไรของปริมาณสารอาหารที่ควรบริโภคในแต่ละวัน
- ร้อยละปริมาณสารอาหารที่ควรบริโภคต่อวัน หมายถึง สารอาหารที่ได้รับจากการบริโภคแต่ละครั้งนั้นคิดเป็นสัดส่วนเท่าใดของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน (Thai RDI) เช่นอาหารนี้ให้คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 7 ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน เราต้องกินจากอาหารอื่นที่ให้ คาร์โบไฮเดรตอีกร้อยละ 93 เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบตามจำนวนที่ต้องการ
แม้ว่าข้อมูลโภชนาการนั้นจะดูเป็นเรื่องยุ่งยากที่ต้องมาคอยคิดคำนวณในช่วงแรกๆ แต่ถ้าเริ่มคุ้นก็จะง่ายและมีประโยชน์อย่างมากในการตัดสินใจซื้อ เช่น ผู้ที่มีภาวะโรคอ้วน คอเรสเตอรอลสูง ความดันสูง ขาดไอโอดีน ก็สามารถเปรียบเทียบเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับสุขภาพของตัวเองเพื่อป้องกันปัญหาที่จะตามมาในอนาคตได้
** Thai Recommended Daily Intakes (Thai RDI ) ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน สำหรับคนไทย อายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป โดยคิดจากความต้องการพลังงานวันละ 2,000 แคลอรี (calorie) โดยมีเกณฑ์ ดังนี้
• คาร์โบไฮเดรต ทั้งหมด 300 กรัม • โปรตีน 50 กรัม • ไขมัน (fat) ทั้งหมด น้อยกว่า 65 กรัม • กรดไขมันอิ่มตัว (saturated fatty acid) น้อยกว่า 20 กรัม • คอเลสเตอรอล น้อยกว่า 300 มิลลิกรัม • ใยอาหาร 25 กรัม • โซเดียม น้อยกว่า 2,400 มิลลิกรัม |