ขอ อย. ขออย่างไร

คงไม่มีใครที่ไม่รู้จักสัญลักษณ์ อย.  ก่อนจะซื้ออาหารก็ต้องตรวจเช็คสัญลักษณ์นี้เพื่อความปลอดภัย

คงไม่มีใครที่ไม่รู้จักสัญลักษณ์ อย. ก่อนจะซื้ออาหารก็ต้องตรวจเช็คสัญลักษณ์นี้เพื่อความปลอดภัย ซึ่งมาตรฐานนี้อ้างอิงมาจาก พรบ.อาหาร พ.ศ. 2522 ที่กำหนดให้ต้องมีการขออนุญาตอาหารก่อนผลิตหรือนำเข้าอาหารเพื่อจำหน่ายเพื่อเป็นการประเมินความสามารถของผู้ประกอบการ ว่าสามารถปฏิบัติตาม เงื่อนไขต่างๆ ที่กำหนดไว้ในกฎหมายได้หรือไม่

ประเภทสินค้าที่ต้องมีการขอ อย.ได้แก่ อาหาร ยา เครื่องมือแพทย์ เครื่องสำอาง วัตถุอันตราย สำหรับบทความนี้เราจะเน้นไปที่เรื่องใกลตัวที่สุด และได้รับความนิยมมากที่สุดอย่างการขอ อย. กับผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร

โดยผลิตภัณฑ์อาหารที่ต้องขออนุญาตจะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่

  • กลุ่มที่ 1 อาหารควบคุมเฉพาะ
  • กลุ่มที่ 2 อาหารที่กำหนดคุณภาพ
  • กลุ่มที่ 3 อาหารที่ต้องมีฉลาก
  • กลุ่มที่ 4 อาหารทั่วไป

แบ่งการยื่นขออนุญาตออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ

  1. สถานที่ผลิตอาหาร หรือสถานที่นำเข้าอาหาร
  2. ผลิตภัณฑ์อาหาร

การขออนุญาตสถานที่ผลิต
ขั้นที่ 1. การขอตรวจประเมินสถานที่ผลิตและเก็บ อาหาร
ขั้นที่ 2. การขออนุญาตตั้งโรงงานผลิตอาหาร
ขั้นที่ 3. การขอรับเลขสถานที่ผลิตอาหารที่ไม่เข้า ข่ายโรงงาน

ผู้ประกอบการต้องจัดเตรียมสถานที่ผลิตอาหารให้สอดคล้องตามข้อกฎหมาย แล้วแต่กรณี อาทิ กรณีเป็นสถานที่ผลิตอาหารทั่วไป ต้องเป็นไปไปตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 1 ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 กรณีอื่นๆ สามารถตรวจสอบเพิ่มเติมได้ที่ : http://bit.ly/2N1sIhh

การขออนุญาตนำเข้าหรือสั่งอาหารเข้ามาในราชอาณาจักร

ขั้นที่ 1.ต้องเปิดเผยสถานที่นำเข้า
เกณฑ์การอณุญาตคือต้องตั้งอยู่ในที่เหมาะสม มีการจดทะเบียนพาณิชย์กิจตามกฎหมาย และสามารถตรวจสอบได้ว่ามีมั่นคงและถูกสุขลักษณะ

ขั้นที่ 2.ต้องเปิดเผยสถานที่เก็บอาหาร โดยมีหลักเกณฑ์เบื้องต้นดังนั้

– ห้องหรือบริเวณเก็บอาหารต้องสะอาดไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อน มีระบบแสงสว่าง และการระบายอากาศอย่างเพียงพอ
– จัดเก็บอาหารแต่ละชนิดเป็นสัดส่วนไม่ปะปนกับสินค้าอื่น
– ไม่เก็บอาหารในโรงงานหรือสถานที่ผลิตวัตถุมีพิษ
– ต้องมีชั้นหรือยกพื้นสำหรับวางอาหารมีความสูง 8 นิ้ว เป็นอย่างน้อย ยกเว้นในกรณีที่ใช้เครื่องทุ่นแรงในการยกสินค้า ให้มีความสูงตามความเหมาะสม

การขออนุญาตผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อขอรับเลขสารบบอาหาร หรือ เลขอย.

1.ประเมินตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่จะขออนุญาตว่าจัดเป็น อาหารหรือไม่ หากจัดเป็นอาหารเข้าข่ายเป็นอาหาร ประเภทใด (อาหารควบคุมเฉพาะ, อาหารที่กำหนดคุณภาพ, อาหารที่ต้องมีฉลาก, อาหารทั่วไป)
2.ยื่นเรื่องจดแจ้งที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด, ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ กระทรวงสาธารณสุข หรือ สมัคร Open ID กับเว็บไซต์สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (สรอ.) เพื่อเข้าใช้ระบบอาหาร (E-Submission)
3.เตรียมเอกสารเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์ อาทิ คำขออนุญาตใช้ฉลากอาหาร, ใบจดทะเบียนอาหาร, ใบอนุญาตผลิตอาหาร, คำขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร โดยรายละเอียดการยื่นคำขอและหลักฐานของผลิตภัณฑ์แต่ละประเภทมีความแตกต่างกัน สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (http://www.fda.moph.go.th/Pages/HomeP_D1.aspx)

การประเมินคำขอในแต่ละครั้งจะมีค่าใช้จ่าย และระยะเวลาในการพิจารณาแตกต่างกันออกไป อาหารบางประเภทอาจใช้เวลาเพียง 1 วัน ส่วนบางกลุ่ม เช่น อาหารทารก อาจใช้เวลาในตรวจสอบนานถึง 1 ปี

ทั้งนี้หลังจากได้รับเลขสารระบบอาหารแล้วนั้น ผู้ผลิตต้องรักษามาตรฐานการผลิตและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อสอดคล้องต่อกฏหมาย สร้างความปลอดภัยและความมั่นใจให้กับผู้บริโภค

Leave Your Reply

Your email address will not be published.